วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2563

พรบ​คอมพิวเตอร์​ 2560

       พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ คืออะไร​ และสำคัญอย่างไร?
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่กำลังจะพูดถึงนี้คืออะไร?






พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้






ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ตโฟนเป็นจำนวนมาก บางคนก็อาจจะใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แต่บางคนก็อาจใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นในทางอ้อมด้วยก็ได้







เราอาจจะได้ยินข่าวเรื่องการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง ซึ่งบางเหตุการณ์ก็สร้างความเสียหายไม่น้อยเลย เพื่อจัดการกับเรื่องพวกนี้ เลยต้องมีพ.ร.บ.ออกมาควบคุม ในเมื่อการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวเรา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเราเช่นกัน
หากเราไม่รู้เอาไว้ เราอาจจะเผลอไปทำผิด โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจก็ได้




การทำสื่อ Concern กับพรบ. อย่างไร ?


       ในขณะที่โลกการสื่อสารหมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกนาที แต่กฎหมายที่ใช้บังคับ โดยเฉพาะประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาท ใช้มาแล้วไม่น้อยกว่า ครึ่งศตวรรษ อีกทั้ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ก็ยังมีการใช้และตีความในทางที่ผิดๆ จนกระทั่งเรื่องของเฟซบุ๊ค และไลน์ซึ่งเป็นการสื่อสารส่วนบุคคล ถูกลากเข้าไปเป็นแพะรับบาปของผู้มีอำนาจด้วย



ความรับผิดชอบของสื่อมวลชนอาจจำแนกได้เป็นความรับผิดชอบ ในเชิงจริยธรรม และความรับผิดชอบในแง่กฎหมาย

กล่าวได้ว่า ความรับผิดชอบเชิงจริยธรรม ซึ่งเป็นเรื่องของจิตสำนึกนั้น อาจจะเป็นเรื่องที่สำคัญกว่า เพราะหากมีจิตสำนึกในการนำเสนอข่าวสาร ข้อมูล ด้วยความรับผิดชอบ และตระหนักรู้ถึงผลกระทบ ความเสียหาย ต่อเกียรติยศ ชื่อเสียงของบุคคลอื่นแล้ว ก็จะมีผลในเรื่องของกฎหมายด้วย


บทบาทหน้าที่ในการแสวงหาข่าวสารและการนำเสนอข้อมูลข่าวสารไปสู่ความรับรู้ของประชาชน จัดได้ว่าเป็นหน้าที่หลักของสื่อมวลชน แต่ในหลายครั้งมักก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นอยู่เสมอ

     





        สาระสำคัญที่หลายคนควรพึงระวังใน พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2 สำหรับชาวเน็ตหรือคนทำงานออนไลน์ควรรู้ไว้เพื่อการใช้สื่อออนไลน์อย่างถูกต้องและถูกกฎหมาย  มีสาระสำคัญจำง่ายๆ ดังนี้

1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม
5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด
7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด
8. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้
9. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
10. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
11. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
12. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ
13. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้ ​

ที่มา :
www.marketingoops.com
www.contentshifu.com
www.thairath.com






ข้อห้ามสำคัญ ที่ชาวเน็ต หรือคนทำงานออนไลน์อย่างพวกเราไม่ควรทำจะมีอะไรบ้าง?

1. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ (มาตรา 5-8)
หากเข้าไปเจาะข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของคนอื่น โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้อนุญาต (ละเมิด Privacy) หรือในเคสที่เรารู้จักกันดีก็คือ การปล่อยไวรัส มัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่น เพื่อเจาะข้อมูลบางอย่าง หรือพวกแฮคเกอร์ ที่เข้าไปขโมยข้อมูลของคนอื่นก็มีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์


บทลงโทษ

เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย: จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรั[




2. แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย (มาตรา 9-10)
ในข้อนี้จะรวมหมายถึงการทำให้ข้อมูลเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือจะเป็นในกรณีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อย่างเช่น กรณีของกลุ่มคนที่ไม่ชอบใจกับการกระทำของอีกฝ่าย แล้วต่อต้านด้วยการเข้าไปขัดขวาง ทำร้ายระบบเว็บไซต์ของฝ่ายตรงข้าม ให้บุคคลอื่นๆ ใช้งานไม่ได้ ก็มีความผิด



บทลงโทษ 

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



3. ส่งข้อมูลหรืออีเมลก่อกวนผู้อื่น หรือส่งอีเมลสแปม (มาตรา 11)ข้อนี้ก็เข้ากับประเด็นพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ หรือนักการตลาดที่ส่งอีเมลขายของที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับ หรือที่รู้จักกันว่า อีเมลสแปม หรือแม้แต่การฝากร้านตาม Facebook กับ IG ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และยังรวมถึงคนที่ขโมย Database ลูกค้าจากคนอื่น แล้วส่งอีเมลขายของตัวเอง






บทลงโทษ

ถ้าส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และถ้าส่งโดยไม่เปิดโอกาสให้ปฏิเสธตอบรับได้โดยงาน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ



4. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ (มาตรา 12)
โพสต์เกี่ยวกับเรื่องการเมืองที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือความมั่นคงต่อประเทศ หรือโพสต์ที่เป็นการก่อกวน หรือการก่อการร้ายขึ้น ก็มีความผิดค่ะ เพราะมาตรา 12 ได้บอกไว้ว่าการเข้าถึงระบบหรือข้อมูลทางด้านความมั่งคงโดยมิชอบ หรือการโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ที่เข่าข่ายข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก และล่วงรู้ถึงมาตรการการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย





บทลงโทษ

กรณีไม่เกิดความเสียหาย: จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
กรณีเกิดความเสียหาย: จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 หมื่น – 2 แสนบาท
กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย: จำคุก 5-20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท



5. จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด (มาตรา 13)
กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 5-11 (หรือข้อ 1-3 ในบทความนี้) ต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย
กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา 12 ต้องจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย






6. นำข้อมูลที่ผิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 14)ในความผิดมาตรา 14 จะระบุโทษการนำข้อมูลที่เปิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ข้อความผิดด้วยกันคือ

โพสต์ข้อมูลปลอม ทุจริต หลอกลวง (อย่างเช่น ข่าวปลอม โฆษณาธุรกิจลูกโซ่ที่หลอกลวงเอาเงินลูกค้า และไม่มีการส่งมอบของให้จริงๆ เป็นต้น)
โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคงปลอดภัย
โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ก่อการร้าย
โพสต์ข้อมูลลามก ที่ประชาชนเข้าถึงได้
เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูล ที่รู้แล้วว่าผิด (อย่างเช่น กด Share ข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็มีความผิดค่ะ )




บทลงโทษ

หากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)




7. ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด (มาตรา 15)
กรณีนี้ถ้าเทียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็เช่น เพจต่างๆ ที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น แล้วมีความคิดเห็นที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็มีความผิดค่ะ แต่ถ้าหากแอดมินเพจตรวจสอบแล้วพบเจอ และลบออก จะถือว่าเป็นผู้ที่พ้นความผิด



บทลงโทษ

หากไม่ยอมลบออกต้องได้รับโทษ ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตร 14 ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกันผู้โพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์ แต่ถ้าผู้ดูแลระบบพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งเตือนแล้วไม่ต้องรับโทษ



       ในโลกยุคปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตผู้คนเป็นอย่างมาก ทั้งช่วยในการติดต่อ ธุรกิจ พูดคุยกับเพื่อนฝูง การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร รวมถึงการทำงานต่าง ๆ ให้ง่ายดาย เเละสะดวกรวดเร็วมากขึ้น อีกทั้งยังเปฌนแหล่งความบันเทิงต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งล่อตาล่อใจผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงควรระวังไม่ว่าจะเป็นการรู้เท่า่ไม่ถึงการณ์หรือตั้งใจก็ตามแตรjควรคำนึงถึงโทษที่จะตามมาด้วย หากไม่ศึกษาข้อกฎหมายหรือวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องอย่างดี ก็อาจจะเป็นโทษแก่ตนเองได้ ผู้ใช้งานดทคโนโลยียุคใหม่ตเองมีความนำสมัยควบคู่กับความรู้กฎหมายเช่นกัน เพื่อความปลอดภัยแก่ตนเองและผู้อื่น ทำให้เป็นปัจจัยที่ทำให้ลดความวุ่นวายในสังคมปัจจุบันนั่นเอง

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562


        ปัจจุบันเทคโนโลยีสื่อดิจิทัลต่าง ๆ มีความสำคัญในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่เป็นภาษาที่มีบทบาทและความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ข้อมูลต่าง ๆ และ
การติดต่อ สื่อสารของผู้คนทั่วโลก เทคโนโลยีทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นสนใจ ใส่ใจศึกษาภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น สื่อดิจิทัลที่ใช้ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ เช่น บล็อก ทวิตเตอร์ เว็บแอพพลิเคชั่น ยูทูป ซึ่งการเรียนรู้ภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลเหล่านี้จะทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาและมีความรู้ความ สามารถทางภาษาอังกฤษที่จะสามารถนำไปใช้ในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ข้อมูลต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง เกิดทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อนำไปดำรงชีพได้อย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ


        สื่อดิจิทัล” (Digital Media) และ “ซอฟต์แวร์” (Software) มีบทบาทเป็นอย่างยิ่งในชีวิตมนุษย์โดยเฉพาะมีความสำคัญต่อการศึกษาเป็นอย่างมาก เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการเรียนการสอนภาษา เป็นเครื่องมือในการฝึกฝนทักษะ ทางภาษาที่สำคัญของครูในการพัฒนาทักษะทางภาษาอังกฤษของตนเอง เพื่อที่จะได้ต้นแบบของการฝึกฝนทาง ภาษาให้กับผู้เรียนสนับสนุนการเรียนรู้ภาษาตามธรรมชาติของผู้เรียนการสร้างปฏิสัมพันธ์การเลียน แบบทางภาษาจากเจ้าของภาษาการพัฒนาเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้และฝึกฝนทักษะทางภาษา​     




แล้วการใช้เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลนั้น มีความสำคัญมีความสำคัญเพียงใดในปัจจุบัน?

        การใช้เทคโนโลยีสื่อดิจิทัลสมัยใหม่ เช่น ยูทูป (YouTube) ทวิตเตอร์(Twitter) บล็อก (blogs)
เว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) ได้ท าให้ผู้เรียนนั้นเกิดความรู้สึกสนใจหรือรู้สึกร่วม เข้าใจ
ใส่ใจในการเล่าเรียนและมีปฏิสัมพันธ์ต่อการเรียนมากยิ่งขึ้นผู้สอนยังสามารถใช้เทคนิคการสอน
ภาษาอังกฤษในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เพลงภาษาอังกฤษ (English Songs) คลิปภาพยนตร์ (Movie
Clippings) การแสดงละคร (Drama) การโฆษณา (Advertisements) การพากย์กีฬา (Sports
Commentaries) เป็นต้น มาใช้ในการสอนเพื่อเป็นการพัฒนาทักษะความสามารถทางภาษาอังกฤษ
ให้แก่ผู้เรียนได้อีกด้วยนั่นคือทั้งผู้เรียนและผู้สอนสามารถที่จะทำให้การเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้น
มีความน่าสนใจและมีความสุข สนุกมากยิ่งขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้การใช้เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล
ในการสอนภาษาอังกฤษจึงเป็นการทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ฝึกปฏิบัติทักษะ
ภาษาอังกฤษ อีกทั้งยังช่วยพัฒนาความสามารถทางการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นไปอีกด้วย


สื่อดิจิทัลที่ใช้ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ 
สื่อดิจิทัลในปัจจุบันแบ่งออกเป็นหลายประเภท ในที่นี้ขอกล่าวถึงประเภทใหญ่ ๆ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษโดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้ 



1)Blog บล็อก (Blogs)








คือ เว็บไซด์รูปแบบหนึ่งที่ให้บริการสำหรับบุคคลทั่วไปที่ต้องการบอกเล่า เรื่องราวต่าง ๆ นำเสนอความคิดเห็นส่วนตัว สิ่งที่ตนเองรู้หรือสิ่งที่ตนเองสนใจเพื่อแบ่งปันความรู้ ให้กับผู้อื่น จึงได้สร้างและเขียนบล็อกของตัวเองขึ้นมาที่มีลักษณะคล้ายกับการเขียนไดอารี่หรือบันทึก ส่วนตัว ซึ่งได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็นบล็อก เช่น GotoKnow, wordpress, blogger, Bloggang เป็นต้น ปัจจุบันนี้บล็อกนั้นสามารถที่จะแสดงรูปภาพ ไฟล์เสียงหรือไฟล์วิดีโอได้









2) Micro Blog 



ไมโครบล็อก (Micro Blog) เป็นรูปแบบหนึ่งของ Blog มีการแสดงหัวข้อและความคิดเห็นที่ กระชับ เป็นข้อความสั้น ๆ ที่จ ากัดขนาดของข้อความที่เขียน เช่น Twitter,Tumblr และ Instagram โดยTwitter เป็น Micro Blog ที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด Twitter Twitter คือ บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์จำพวกไมโครบล็อก (Micro Blogging) โดยผู้ใช้ สามารถส่งข้อความยาวไม่เกิน 140 ตัวอักษร เป็นการบอกว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ในช่วงเวลานั้น















3) Web application 








เว็บแอพพลิเคชั่น (Web Application) คือ โปรแกรมประยุกต์บนเว็บที่ถูกเขียนขึ้นมาส าหรับ การใช้งานเว็บเพจ (Webpage) ต่าง ๆ สามารถเข้าถึงด้วยโปรแกรมค้นดูเว็บผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต เว็บแอพพลิเคชั่นเป็นที่นิยมเนื่องจากความสามารถในการดูแลและอัพเดท ข้อมูลโดยไม่ต้องน าไปแจกจ่ายหรือติดตั้งซอฟต์แวร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์เว็บแอพพลิเคชั่นที่นิยม น ามาใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้แก่ EDpuzzle และ Quizlet EDpuzzle Edpuzzle เป็นเทคโนโลยีหรือเครื่องมือส าหรับผู้สอนที่ช่วยในการสร้างสรรค์สื่อบทเรียน ปฏิสัมพันธ์ใน รูปแบบวิดีโอ ผ่านการผสมผสานคลิปวิดีโอหรือเนื้อหาบทเรียนจากแหล่งทรัพยากร







4) Media Sharing 



เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้สามารถอัพโหลดรูปภาพ วิดีโอ หรือเพลงเพื่อแบ่งปันหรือเผยแพร่ให้กับ สมาชิกหรือสาธารณชนทั่วไปตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็น Media Sharing เช่น Youtube, Vimeo, Veoh, Flickr,Photobucket, Imageshackและ Snapfishซึ่ง Youtube เป็น Media Sharing ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
YouTube 



YouTubeคือ เว็บไซต์ที่ให้บริการแลกเปลี่ยนภาพวิดีโอระหว่างผู้ใช้ได้ฟรีโดยผู้ใช้ที่เป็นสมาชิก สามารถเข้าไปดูหรืออัพโหลด (upload) ภาพวิดีโอต่างๆ พร้อมทั้งแบ่งปันภาพวิดีโอให้คนอื่นดูได้แต่ผู้ที่ ไม่ได้เป็นสมาชิกจะไม่สามารถอัพโหลดวิดีโอแต่สามารถเข้าไปเปิดดูภาพวิดีโอของผู้ใช้คนอื่นดูได้ โดยผู้สอน สามารถนำยูทูปมาใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนของผู้เรียนได้














       




        ดังนั้นจะเห็นได้ว่าบทบาทของไอทีกับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษทำให้เราเห็นว่า แนวทางที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอที มาเป็นเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ภาษาอังกฤษนั้น เป็นเรื่องที่ช่วยได้มาก และทำให้ประหยัดเวลาในการเรียนรู้ ฝึกทักษะได้อย่างรวดเร็ว เพราะเครื่องมือจะช่วยทุ่นแรงได้เป็นอย่างดี เพียงแต่ว่า ผู้ใช้จะมองเห็นประโยชน์ส่วนดีจากตรงนี้หรือไม่เท่านั้น หากได้นำไอทีมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าจริงๆ น่าจะช่วยยกระดับความรู้ความสามารถในเรื่องภาษาอังกฤษของคนไทยได้ดีขึ้น